วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อกุศลมูล 3



อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)

แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ




๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูป

แบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ

ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง


วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน






๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิด

กิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน

พาล และเป็นภัยต่อสังคม


วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ






๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้ง

ส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย


วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย









งมงาย


(ก.) หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น.



งมงาย (ก.) หลงเล่ห์, เซ่อเซอะ, ไม่รู้, ไม่เข้าใจ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น