วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บริษัท ๓

 
บริษัท ๓ จำพวกนี้ ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ
บริษัทที่แนะนำได้ยาก ๑
บริษัทที่แนะนำได้ง่าย ๑
บริษัทที่แนะนำแต่พอประมาณก็รู้ได้ ๑



ปริสสูตรhttp://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=7512&Z=7515&pagebreak=0

มิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๓

คือ
ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก ๑
ช่วยทำสิ่งที่ทำได้ยาก ๑
อดทนสิ่งที่ทนได้ยาก ๑

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=7516&Z=7519&pagebreak=0

สัมปทา ๓

สัมปทา ๓

สัทธาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๑
สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล ๑
ปัญญาสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=7554&Z=7558&pagebreak=0

 

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บุญกิริยาวัตถุ ๓

ประการนี้ ๓ ประการ
เป็นไฉน คือ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑
บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑
บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑

สัปบุรุษ บัณฑิตกล่าวธรรม ๓ ประการ

ธรรม ๓ ประการนี้ คือ
การให้ทานด้วยศรัทธา ๑
การให้ทานด้วยหิริ ๑
การให้ทานอันหาโทษมิได้ ๑
เป็นไปตามสัปบุรุษ บัณฑิตกล่าวธรรม ๓ ประการนี้
ว่า เป็นทางไปสู่ไตรทิพย์ ชนทั้งหลายย่อมไปสู่เทวโลกด้วยทางนี้แล ฯ

ที่จะพร้อมกันเข้าได้ยาก3

การที่พระตถาคตเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ๑
การได้กำเนิด เป็นมนุษย์ ๑
การแสดงสัทธรรม ๑

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หลักสัทธรรม 3

หลักสัทธรรม 3
           
พระสัทธรรม หมายถึง ธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ หรือหลักศาสนา ประกอบด้วย

1. ปริยัตติสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธพจน์
2. ปฏิปัตติสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 หรือไตรสิกขา  
3. ปฏิเวธสัทธรรม หมายถึง สัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ


กิเลส3

วิชชา3

๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้
๒. จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติและเกิด
๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.
องฺ. ทสก. ๒๔/๒๒๖.

กุศลมูล 3

กุศลมูล ๓
กุศลมูล ๓ หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับ อกุศลมูล มี ๓ ประการดังนี้
๑. อโลภะ ความไม่อยากได้ อโลภะ คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก เป้นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดี
และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโลภะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ ความพอใจ ทาน การบริจาค จาคะ การเสีย
สละ อนภิชฌา ความไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น
๒. อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย อโทสะ คือ คสามไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการ
ประกอบการตัดสินใจต่างๆ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา ความ
สงสาร อโกธะ ความไม่โกรธ อพยาบาท ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น
๓. อโมหะ ความไม่หลง อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญา
พิจารณาไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติ
ธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ การรู้
จักตรึดตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น

ตายไม่สูญ...แล้วไปไหน
http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B9%93-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5-%E0%B9%93-201319.html

กุศลวิตก 3

กุศลวิตก 3 (ความตรึกที่เป็นกุศล, ความนึกคิดที่ดีงาม — wholesome thoughts)
1. เนกขัมมวิตก (ความตรึกปลอดจากกาม, ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรนปรือสนองความอยากของตน — thought of renunciation; thought free from selfish desire)
2. อพยาบาทวิตก (ความตรึกปลอดจากพยาบาท, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคืองหรือเพ่งมองในแง่ร้าย — thought free from hatred)
3. อวิหิงสาวิตก (ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียน, ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลาย — thought of non-violence; thought free from cruelty)

http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=วิตก

ปัญญา3

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย
ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ
  1. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา)
  2. โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา)
  3. โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา)
ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 หรือ ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิสมาธิ อธิปัญญา

ไตรสิกขา 3

สิกขา 3 หมายถึงข้อสำหรับศึกษา, การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา, การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่างคือ
1.อธิสีลสิกขา คือศึกษาเรื่องศีล อบรมปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม ให้ถูกต้องตามหลัก

2.อธิจิตตสิกขา คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ

3.อธิปัญญาสิกขา คือศึกษาเรื่องปัญญาอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง
 

อกุศลมูล 3



อกุศลมูล ๓ (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)

แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้งปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ




๑. โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูป

แบบซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ

ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง


วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน






๒. โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิด

กิเลสได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน

พาล และเป็นภัยต่อสังคม


วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ






๓. โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆมากมาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้ง

ส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย


วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย









งมงาย


(ก.) หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น.



งมงาย (ก.) หลงเล่ห์, เซ่อเซอะ, ไม่รู้, ไม่เข้าใจ





กาย3

กายในทางพระพุทธศาสนา มี ๓ อย่าง คือ
  1. สรีรกาย กายที่เกิดจากอุตุนิยาม ( รูปธาตุ )คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้แก่ กายของมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน
  2. ทิพยกาย กายที่เกิดจากกรรมนิยาม ( นามธาตุ )คือ กิเลส กรรม วิบาก ได้แก่ กายของโอปะปาติกะทั้งหลาย เช่น พรหม เทพ วิญญาณ อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
  3. นามกาย หรือ กายที่เกิดจากธรรมนิยาม ( ธรรมธาตุ )คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แก่ จิต และ เจตสิก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2